เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย : "น้ำหยดสุดท้าย"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าของน้ำ ที่มีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น อีกทั้งยังสามารถใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดี และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำได้

week2


เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้เกี่ยวกับน้ำ โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้





Week

Input

Process

Output

Outcome
2
26-30
..
58

โจทย์ :
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน หน่วย “น้ำหยดสุดท้าย 
Key  Question
นักเรียนรู้อะไรและอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับน้ำ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังนิทาน
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำ
Think  Pair Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทาน เรื่อง “หยดน้ำผจญภัย “ปลาสายรุ้ง”
- เพลง “ฝนตก”
- เพลง “ซ่า ซ่า ซ่า”


วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “หยดน้ำผจญภัย”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้างรู้สึกอย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
ใช้ : นักเรียนปั้นดินน้ำมันหยดน้ำผจญภัย

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ปลาสายรุ้ง”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
ใช้ : นักเรียนวาดภาพตัวละครที่ชอบในนิทาน
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ซ่า ซ่า ซ่า”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับน้ำ?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้ว ใน หน่วย “น้ำหยดสุดท้าย  ” โดยใช้
Think Pair Share
- ครูเขียนสิ่งที่รู้แล้วที่นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นบนกระดาน โดยใช้ Blackboard  Share

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ฝนตก”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับน้ำ?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ ใน หน่วย “ น้ำหยดสุดท้าย  ” โดยใช้
Think Pair Share
- ครูเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ที่นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นบนกระดานโดยใช้  
Blackboard  Share

วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์













ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง

ชิ้นงาน
- ปั้นดินน้ำมันหยดน้ำผจญภัย
- วาดภาพตัวละครที่ชอบในนิทาน

ความรู้
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้เกี่ยวกับน้ำ โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนรู้และอยากเรียนรู้
   - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรูได้ อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
    - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน




สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับ หน่วย “ น้ำหยดสุดท้าย
สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- น้ำเช็ดตัวไก่ได้                                      
- น้ำสามารถดื่มได้                                    
- น้ำใช้แปรงฟันได้                                   
 - น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลา                     
- น้ำใช้เล่นสงกรานต์ได้
- น้ำเป็นที่ออกกำลังกายได้ เช่น ว่ายน้ำ
- น้ำใช้ผสมสีได้
- น้ำใช้ทำความสะอาดบ้านได้       
- น้ำใช้ทำอาหารได้
- ต้มน้ำร้อนไว้ชง นม กาแฟ โอวัลติน
- น้ำใช้เล่นสงกรานต์ได้
-ใช้น้ำต้มไข่ได้
- น้ำใช้อาบน้ำเด็กๆ และอาบน้ำให้หมา/สัตว์ต่างๆ ได้
- ใช้ซักผ้าได้
- น้ำใช้ล้างกระดานได้
- น้ำใช้รดผัก/ต้นไม้ได้
- น้ำใช้ล้างรถยนต์ได้    
- ปลูกพืชในน้ำได้                          
- ทำไมปลาถึงอยู่ในน้ำ                                        - ทำไมน้ำถึงรดถั่วได้       
- ทำไมต้องเอาน้ำไปชงกาแฟ และนม                      - น้ำมีอยู่ที่ไหนบ้าง
- ทำไมน้ำถึงเป็นหมอกได้                                     - น้ำมาจากไหน
- ทำไมน้ำถึงลอยขึ้นฟ้าได้                             
- ทำไมน้ำต้มไข่ได้                                    
- ทำไมเราต้องใช้น้ำ
- ทำไมน้ำถึงดื่มได้                                       
- ทำไมเราต้องใช้น้ำอาบน้ำ
- ทำไมเราต้องใช้น้ำแปรงฟัน                          
- ทำไมถึงเกิดรุ้งกินน้ำ
- ทำไมก้อนเมฆถึงมีน้ำ                                 
- ทำไมเรียกน้ำว่าน้ำปลา
- ทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม                                
- ทำไมเราต้องมีน้ำมูก
- ทำไมน้ำถึงมีหลายสี                                   
- ทำไมน้ำถึงกินได้และกินไม่ได้
- ทำไมในร่างกายเราถึงมีน้ำ
- ทำไมน้ำถึงนำไปทำอาหารได้
             
 ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างชิ้นงาน








  

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่สอง คุณครูเชื่อมโยงเข้าสู่สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับน้ำ?” เด็กๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้ว ใน หน่วย “น้ำใส โลกสวย ” โดยใช้ (Think Pair Share) อย่างเช่น
    น้องหนุน :น้ำใช้ทำความสะอาดบ้านได้ครับ
    น้องชิน : ใช้ต้มน้ำร้อนได้ครับ เช่น นม กาแฟ โอวัลตินครับ
    น้องเต้ : น้ำใช้ว่ายน้ำได้ครับ
    น้องโอบอ้อม :น้ำใช้ทำอาหารได้ค่ะ
    น้องนโม : น้ำใช้ผสมสีได้ครับ
    น้องกุ้ง : น้ำใช้รดผัก/ต้นไม้ได้ค่ะ
    น้องน้ำ : ใช้น้ำต้มไข่ได้ครับ
    น้องหยก : น้ำใช้ว่ายน้ำได้ค่ะ-น้ำใช้ผสมสีได้ค่ะ
    น้องต้นกล้า : น้ำดื่มได้ครับ
    น้องมินทร์ : น้ำใช้แปรงฟันได้ค่ะ
    วันต่อมาครูพาเด็กๆ ร้องเพลง “ฝนตก” จากนั้น ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับน้ำ?” อย่างเช่น
    น้องแก้ม : ทำไมสายรุ้งถึงกินน้ำได้ครับ
    น้องกุ้ง : ทำไมก้อนเมฆถึงมีฝนค่ะ
    น้องฟอร์ด : ทำไมน้ำปลาถึงเป็นน้ำครับ
    น้องหนุน : ทำไมน้ำทะเลถึงเค็มครับ
    น้องโอบอ้อม : ทำไมเราต้องมีน้ำมูกค่ะ
    น้องมินทร์ : ทำไมน้ำถึงมีหลายสีค่ะ
    น้องโชว์ : ทำไมน้ำถึงกินได้และกินไม่ได้ครับ
    น้องนโม : ทำไมในร่างกายเราถึงมีน้ำค่ะ
    และ ในสัปดาห์นี้เด็กๆได้ทำชิ้นงานปั้นดินน้ำมันหยดน้ำผจญภัยและวาดภาพตัวละครที่ชอบในนิทาน ซึ่งทุกคนตื่นเต้นและสนุกกับการทำกิจกรรมมากค่ะ

    ตอบลบ