เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษาที่ 2/2557 หน่วย : "น้ำหยดสุดท้าย"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าของน้ำ ที่มีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น อีกทั้งยังสามารถใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีจิตสำนึกที่ดี และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำได้

week5



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะคุณสมบัติภายนอกของน้ำ เช่น ของแข็ง ของเหลว และการเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ได้

Week

Input

Process

Output

Outcome
5
16-20
 ..
58
โจทย์ :
คุณสมบัติ
- ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
- การเปลี่ยนรูปร่างในภาชนะที่ใส่
- สี กลิ่น
- ตัวทำละลาย
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าน้ำจากของแข็งกลายเป็น ของเหลวได้อย่างไร? แล้วจากของเหลวกลายเป็นของแข็งได้อย่างไร?
- น้ำที่อยู่ในภาชนะที่ต่างกัน มีรูปร่างลักษณะ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ
Think  Pair Share : การเปลี่ยนรูปร่างของน้ำตามภาชนะที่ใส่
Wall  Thinking : วาดภาพรูปร่างของน้ำที่อยู่ในภาชนะต่างๆ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน    ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทานเรื่อง “น้ำแข็งใส”
- เพลง “ฝนตก, ซ่า ซ่า ซ่า”
- อุปกรณ์ในการทดลอง“ไอศกรีมหลอด”  ( เกลือ น้ำผลไม้ ก้อนน้ำแข็ง  ฯลฯ)
- ภาชนะใส่น้ำ เช่น แก้ว ถ้วย  ขวดจาน ฯลฯ
- อุปกรณ์ในการทดลอง “ตัวทำละลาย” (น้ำ ผงซักฟอง สีผสมอาหาร เกลือ น้ำตาล กระดาษ ฯลฯ)
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูจัดเตรียมภาชนะใส่น้ำ เช่น แก้ว ถ้วย  ขวดจาน ฯลฯ ที่แตกต่างกัน มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูและนักเรียนร่วมกันเทน้ำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ พร้อมสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรและ น้ำที่อยู่ในภาชนะที่ต่างกัน มีรูปร่างลักษณะ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ : นักเรียนทำใบงานวาดภาพรูปร่างของน้ำที่อยู่ในภาชนะต่างๆ

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ฝนตก”
- ครูจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลอง “ไอศกรีมหลอด”  ( เกลือ น้ำผลไม้ ก้อนน้ำแข็ง  ฯลฯ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าน้ำจากของแข็งกลายเป็นของเหลวได้อย่างไร แล้วน้ำจากของเหลวกลายเป็นของแข็งได้อย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำการทดลอง “ไอศกรีมหลอด”
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ : นักเรียนร่วมกันทำไอศกรีมหลอด

วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “น้ำแข็งใส” เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสถานะของน้ำ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรรู้สึกอย่างไร?” “ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
ใช้ : นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็นน้ำแข็งใสพร้อมเล่าเรื่องราวประกอบ

วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ซ่า ซ่า ซ่า”
- ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง “ตัวทำละลาย” (น้ำ ผงซักฟอง สีผสมอาหาร เกลือ น้ำตาล กระดาษ ฯลฯ) มาให้นักเรียนสังเกต
- นักเรียนร่วมกันทำการทดลอง“ตัวทำละลาย”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมเกลือ น้ำตาล ผงซักฟองถึงละลายได้ในน้ำ?” ถ้าไม่ใช้น้ำ เราจะทำให้เกลือ น้ำตาล ฯลฯ ละลายกลายเป็นน้ำได้อย่าไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ : นักเรียนปั้นดินน้ำมันรูปต่างๆ

วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ เช่น ของแข็ง ของเหลว
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองทำไอศกรีม

ชิ้นงาน
-ใบงานวาดภาพรูปร่างของน้ำที่อยู่ในภาชนะต่างๆ
- ปั้นดินน้ำมันเป็นน้ำแข็งใสพร้อมเล่าเรื่องราวประกอบ
- ทดลองทำไอศกรีมหลอด


ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะคุณสมบัติภายนอกของน้ำ เช่น ของแข็ง ของเหลว และการเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังนิทานและทดลอง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสังเกต
- สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของน้ำในสถานะที่ต่างกัน เช่น จากของแข็ง – ของเหลว,ของเหลว – ของแข็ง
- สังเกตความเหมือน / ความต่างของน้ำที่อยู่ในภาชนะต่างกัน
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
 

ตัวอย่างภาพกิจกรรม

























ตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 5 เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ เช่น ของแข็ง ของเหลวและการเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ คุณครูได้พาเด็กๆ ทดลองการเปลี่ยนรูปร่างของน้ำ วันต่อมาคุณครูได้พาเด็กๆทดลองไอติม โดยครูเตรียมอุปกรณ์มาให้ เช่น น้ำแข็ง นม น้ำหวาน ถังทำไอติม เกลือ คุณครูได้ใช้คำถามกระตุ้นการคิด เด็กๆ คิดว่าทำไมน้ำถึงกลายเป็นน้ำแข็งได้เพราะอะไร?
    น้องแป้ง : ใส่เกลือเยอะน้ำเลยแข็งค่ะ
    น้อง โชว์ :ใส่น้ำแข็งเยอะๆน้ำจะแข็งได้ครับ
    น้องมินทร์ : ใส่เกลือกับน้ำแข็งเยอะไอติมเลยแข็งค่ะ
    น้องชิน : ใส่น้ำหวานกับน้ำแข็งเยอะเลยได้ไอติมครับ
    วันต่อมาคุณครูได้พาเด็กๆทดลองตัวทำละลาย โดยเตรียมอุปกรณ์ให้ เช่น น้ำ สีผสมอาหาร เกลือ กระดาษ กระดาษทิชชู ผงซักฟอง มาให้นักเรียนสังเกต โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดเด็กๆคิดว่าทำไมเกลือ สีผสมอาหารถึงละลายน้ำได้เพราะอะไร?
    น้องโอบอ้อม : เพราะว่าในน้ำมันมีสารอะไรก็ไม่รู้ที่ทำให้เกลือละลายได้ค่ะ
    น้องป๋อ : กระดาษไม่ละลายแต่เปียกครับ
    น้องกุ้ง : กระดาษไม่ละลายแต่ถ้าเราเอากระดาษที่เปียกไปตากแดดก็จะเขียนได้ค่ะ
    น้องหยก : ผงซักฟอกถ้าเทลงในน้ำจะละลายแต่จะมีฟองขึ้นด้วยค่ะ
    ตลอดทั้งสัปดาห์เด็กๆ สนุกสนานและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งได้ทำชิ้นงาน ใบงานวาดภาพรูปร่างของน้ำในภาชนะ ปั้นดินน้ำมัน การปะติดไม้ไอติม เด็กๆ สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดีค่ะ

    ตอบลบ